การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วมด้านบริการวิชาการ

การเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงานด้านบริการวิชาการ โดย มหาวิทยาลัยอนุมัติให้สถาบันวิจัยและพัฒนาดำเนินโครงการบริการวิชาการสัญจรสู่ชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปัญหาและความต้องการ รับบริการข้อมูล คำปรึกษา ถ่ายทอดเทคโนโลยีของผู้รับบริการในกลุ่มภาคกลางตอนล่าง และพื้นที่ใกล้เคียง แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการบริการวิชาการกับหน่วยงานภายนอก ตอบสนองนโยบายการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยในการพัฒนางานวิจัยและงานบริการวิชาการสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ สร้างอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิตให้ชุมชนสังคมได้อย่างต่อเนื่องยั่งยืน และเพิ่มช่องทางโครงการบริการสังคม

เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2568 จึงออกคำสั่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ที่ 35/2567 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการบริการวิชาการสัญจรสู่ชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีองค์ประกอบของคณะกรรมการที่เป็นบุคคลภายนอก ซึ่งเป็นคณะกรรมการฝ่ายดำเนินงานเครือข่าย OTOP สระบุรี ได้แก่

  1. นางนารีรัช  อุทัยแสงสกุล          ประธานเครือข่าย OTOP สระบุรี
  2. นายอัศวิน  ไขรัศมี                      ประธานวิสาหกิจชุมชนตลาดหัวปลี
  3. นางธิติมา  ตะรุสะ                        ประธานวิสาหกิจชุมชนภูริธาราพรรณ
  4. นางอภิษฎา  มุสิกะพันธ์              ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรป่ายาง
  5. นางปราณา  คำสะอาด                ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรป่ายาง
  6. นางนงลักษณ์  สิทธิทองจันทร็   สมาชิกวิสาหกิจชุมชนตลาดหัวปลี
  7. นายพิศาล  พลเขียว                    สมาชิกวิสาหกิจชุมชนตลาดหัวปลี
  8. นางสาวจีรวรรณ  อโนดาษ          ธุรการวิสาหกิจชุมชนตลาดหัวปลี

คำสั่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ที่ 35/2567 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการบริการวิชาการสัญจรสู่ชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2568

และได้ดำเนินงานโดยจัดกิจกรรมที่ 1 เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับตัวแทนกลุ่ม OTOP กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการ จำนวน 11 กลุ่ม เมื่อวันที่ 23-24 มกราคม 2568 ณ ศูนย์ Otop คอมเพล็กซ์ พุแค สระบุรี

และจากการดำเนินงานกิจกรรมที่ 1 แลกเรียนรู้และสำรวจปัญหาความต้องการของชุมชน ได้ข้อมูลความต้องการของแต่ละกลุ่ม รวมถึงกลุ่มชุมชนได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ทั้ง 9 คณะ และ 1 วิทยาลัย เพื่อไปแก้ปัญหาของกลุ่มในเบื้องต้น และได้มีการจัดทำสรุปข้อมูลจาการให้คำปรึกษาลงในระบบบริการวิชาการ (CMO)

จากประเด็นปัญหาความต้องการเร่งด่วนของกลุ่มชุมชน งานบริการวิชาการได้เลือกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภูริธาราพรรณ อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เพื่อดำเนินกิจกรรมที่ 2 กิจกรรมฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร หลักสูตรน้ำพริกกระชายกรอบสามรสพลังงานต่ำ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 ทั้งนี้จากการดำเนินกิจกรรมที่ 2 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนภูริธาราพรรณ จะนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มและจะทำให้กลุ่มสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม