การส่งเสริมความโปร่งใสของหน่วยงานสถาบันวิจัยและพัฒนา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567

การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วมด้านการวิจัย

การเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงานด้านวิจัย ได้แก่ งานจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และสัตว์

จากข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ว่าด้วยคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย ในมนุษย์ พ.ศ. 2565 ประกาศเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2565 ให้มีคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยของสถาบัน เพื่อทำหน้าที่วางหลักเกณฑ์ ดูแล ตรวจสอบมาตรฐานจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ของมหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2565 ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ที่ 899/2565 นั้น คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ได้จัดทำ (ร่าง) แนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (SOP) โดยในข้อ 6.3 การกำหนดองค์ประชุม (Quorum) และ ข้อ 6.3.1 การประชุมของคณะกรรมการฯ ต้องมีกรรมการฯ ที่มีสิทธิออกเสียง มาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งโดยต้องมีทั้งเพศหญิง และเพศชาย ที่มีคุณวุฒิทางวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ และต้องมีกรรมการฯ ภายนอกที่มิใช่ บุคลากรในสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (Non-Affiliate) และมี Lay person อย่างน้อย 1 คน ร่วมอยู่ด้วยเสมอ ซึ่งการกำหนดดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานสากล จากการจัดประชุมและฝึกอบรมให้กับคณะกรรมการ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดรับพิจารณาโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ในวันจันทร์ที่ 2 ตุลาคม 2566 นั้น พบว่าการดำเนินงานตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ว่าด้วยคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ พ.ศ. 2565 ข้อ 4(3) (ข) อาจทำให้องค์ประกอบในการประชุมพิจารณาโครงการวิจัยไม่สมบูรณ์ จึงเห็นว่าการแก้ไขข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ว่าด้วยคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ พ.ศ. 2565 ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวแทนประชาชน (Lay Person) นั้น มีความเหมาะสมและจะทำให้การดำเนินงานคล่องตัวมากขึ้น

มหาวิทยาลัย จึงออกข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ว่าด้วยคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 ประกาศ ณ วันที่ 2 ตุลาคม 2566 เพื่อให้กรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ของมหาวิทยาลัยที่เป็นบุคคลภายนอก เพื่อให้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของมหาวิทยาลัย โดยมีองค์ประกอบของคณะกรรมการที่เป็นบุคคลภายนอก คือ

  1. นางสาวอัญมณี สุขสิงห์ (กรรมการตามข้อ 3 (ก) ผู้มีความรู้ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ หรือมีคุณวุฒิในด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์)
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศพร มุ่งวิชา (กรรมการตามข้อ 3 (ข) ตัวแทนประชาชน ที่ไม่ใช่บุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์)

คำสั่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ที่ 75/2567 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (เพิ่มเติม)
จากการแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (เพิ่มเติม) มีการจัดประชุมคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มนุษย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ครั้งที่ 1/2567 วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมรพีพัฒน์ ชั้น 3 อาคารรพีพัฒนศักดิ์ ซึ่งกรรมการทั้ง 2 ท่าน ดังกล่าว ได้เข้าร่วมประชุมและเป็นไปตามองค์ประกอบการประชุม ตามแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (SOP) ทั้งนี้ ในการดำเนินงานจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ จะมีส่วนร่วมในด้านการพิจารณาโครงการและให้ข้อคิดเห็นต่าง ๆ ภายใต้บทบาทหน้าที่ของกรรมการ และทำให้การประชุมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และจากการดำเนินงานดังกล่าว ทำให้หน่วยงานมีความพร้อมในการรับพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของโครงการวิจัย ทั้งจากบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย และบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย

รายละเอียดและข้อมูลที่เกี่ยวข้องงานจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และสัตว์

การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วมด้านบริการวิชาการ

การเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงานด้านบริการวิชาการ โดย มหาวิทยาลัยอนุมัติให้สถาบันวิจัยและพัฒนาดำเนินโครงการบริการวิชาการสัญจรสู่ชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปัญหาและความต้องการ รับบริการข้อมูล คำปรึกษา ถ่ายทอดเทคโนโลยีของผู้รับบริการในกลุ่มภาคกลางตอนล่าง และพื้นที่ใกล้เคียง แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการบริการวิชาการกับหน่วยงานภายนอก ตอบสนองนโยบายการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยในการพัฒนางานวิจัยและงานบริการวิชาการสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ สร้างอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิตให้ชุมชนสังคมได้อย่างต่อเนื่องยั่งยืน และเพิ่มช่องทางโครงการบริการสังคม

เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2567 จึงออกคำสั่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ที่ 74/2567 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการบริการวิชาการสัญจรสู่ชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีองค์ประกอบของคณะกรรมการที่เป็นบุคคลภายนอก ซึ่งเป็นคณะกรรมการฝ่ายดำเนินงานสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่

  1. นางสาวณัฐรดี  ขาวเหลือง         พัฒนาการอำเภอเมืองสุพรรณบุรี
  2. นายณพลพงศ์  พันธุ์พฤกษ์        นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
  3. นางสาวรวีวรรณ  กลั่นใจ             ผู้นำชุมชนและตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
  4. นางก้านร่ม  ภูฆัง                         ผู้นำชุมชนและตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
  5. จ.ส.อ.ภูวดิษฐ์  นรการ                ผู้นำชุมชนและตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

คำสั่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ที่ 74/2567 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการบริการวิชาการสัญจรสู่ชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2567

และได้ดำเนินงานโดยจัดกิจกรรมที่ 1 แลกเรียนรู้และสำรวจปัญหาความต้องการของชุมชน ระหว่างวันที่ 29-30 มกราคม 2567 ณ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี และได้มีการลงพื้นที่สำรวจกลุ่มชุมชน 11 กลุ่ม

และจากการดำเนินงานกิจกรรมที่ 1 แลกเรียนรู้และสำรวจปัญหาความต้องการของชุมชน ได้ข้อมูลความต้องการของแต่ละกลุ่ม รวมถึงกลุ่มชุมชนได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ทั้ง 9 คณะ เพื่อไปแก้ปัญหาของกลุ่มในเบื้องต้น และได้มีการจัดทำสรุปข้อมูลจาการให้คำปรึกษาลงในระบบบริการวิชาการ (CMO)

จากประเด็นปัญหาความต้องการของกลุ่มชุมชน งานบริการวิชาการได้เลือกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปการเกษตรบ้านสวนลุงจ่า เพื่อดำเนินกิจกรรมที่ 2 ฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กิจกรรมฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร หลักสูตรการทำแป้งกล้วย ครองแครงกรอบแป้งกล้วย และกล้วยกรอบทรงเครื่อง ณ วิสาหกิจชุมชนแปรรูปการเกษตรบ้านสวนลุงจ่า ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567  ทั้งนี้จากการดำเนินกิจกรรมที่ 2 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปการเกษตรบ้านสวนลุงจ่า จะนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มและจะทำให้กลุ่มสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม